ซาเรกัตอิสลามเป็นองค์กรชาตินิยมที่มีขนาดใหญ่ที่รวมเอามุสลิมทั้งในชวา สุมาตรา และที่อื่นๆ เข้าด้วยกัน มีการคาดกันว่าใน ค.ศ. 1919 ซาเรกัตอิสลาม มีสมาชิกรวมทั้งหมดที่กระจายตามสาขาต่างๆ กว่า 2 ล้านคน
ซาเรกัตอิสลามเป็นสมาคมที่เน้นการฟื้นฟูศาสนาอิสลามและส่งเสริมบทบาททางการเมืองของชาวอินโดนีเซีย สมาคมซาเรกัตอิสลามได้เรียกร้องว่าชาวอินโดนีเซียควรมีส่วนร่วมในการปกครองด้วย ชาวพื้นเมืองจึงมีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งซาเรกัต อิสลาม หรือ สมาคมอิสลาม โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1909 โดยมีผู้นำคนสำคัญคือ โจโกรมิโนโต แต่ในภายหลังการเคลื่อนไหวมีท่าทีที่รุนแรงขึ้น จึงถูกยุบไปในปี ค.ศ.1912 ด้วยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ซาเรกัต ดากัง อิสลามต้องถูกยุบลงคือ จากการร่วมมือกันของพ่อค้าชาวพื้นเมือง ในการประกาศคว่ำบาตรสินค้าของต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของชาวจีน ที่ได้ทำการค้าขายดี จนได้รับความมั่งคั่งมากกว่าชาวพื้นเมือง และได้รับการสนับสนุนที่เหนือกว่าจากเจ้าอาณานิคม
โดยมีความเป็นมา คือ ในช่วงที่เนเธอร์แลนด์ปกครองอยู่นั้นสิทธิต่างๆ ทั้งอำนาจการปกครองและธุรกิจต่างๆ ไม่ได้เป็นของชาวพื้นเมืองเลยแต่กลับกลายเป็นของเจ้าอาณานิคมทำให้เกิดการเรียกร้องเพื่อที่จะปกครองตัวเองจากนายทุน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการรวมตัวเพื่อก่อตั้งสมาคมอิสลามหรือที่เรียกชื่อว่า ซาเรกัตอิสลามขึ้นในปี ค.ศ.1909 แต่ด้วยสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นจึงยุบสมาคมลงในปี ค.ศ.1912 สาเหตุที่ทำให้ยุบลงก็คือการร่วมมือของชาวพื้นเมืองที่คว่ำบาตรสินค้าจากต่างชาติและหนึ่งในนั่นก็เป็นสินค้าของชาวจีนที่ขายดี
ถึงแม้สมาคมดังกล่าวจะยุบตัวลงไปนั่นก็ไม่ได้สร้างความอ่อนแอให้กับคนพื้นเมืองเลยและในเดือนเดียวกันนั่นก็ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่อีกโดยมี นาย อูมาร์ ซาอิด โจโกรอามิโนโต เป็นหัวหน้าและได้นำ ซาเรกัต อิสลาม เข้าเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองอย่างเต็มตัว และด้วยองค์กรนี้เป็นองค์กรที่ทำงานทั้งทางด้านการเมืองและศาสนาไปในตัว จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและด้วยเหตุนี้จึงทำให้การขยายตัวขององค์กรเป็นไปได้อย่างรวดเร็วในอินโดนีเซีย ในช่วงระยะเวลาต่อมา การเคลื่อนไหวของสมาคมเกิดขึ้นอย่างชัดเจน อาจเป็นเพราะในช่วงเวลานั้นเจ้าอาณานิคมได้มีการเปลี่ยนนโยบายใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ.1916-1919 โดยนโยบายใหม่มีเนื้อหาที่สำคัญว่า ต้องการให้ชาวพื้นเมืองมีสิทธิในการปกครองเพิ่มมากขึ้น และขอคัดค้านระบบทุนนิยม และที่สำคัญมากไม่แพ้กันก็คือ ศาสนาต้องเป็นที่ศรัทธาและเจ้าอาณานิคมห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของศาสนาอิสลาม และด้วยความที่องค์กรมีความใหญ่โตมากและประกอบไปด้วยการรวมตัวของคนที่มีความคิดที่แตกต่างกันและการประสานกันของแต่ละฝ่ายไม่ทั่วถึงจึงทำให้เกิดการแยกตัวขึ้นในระยะเวลาต่อมาซึ่งกลุ่มที่มีความคิดแบบคอมมิวนิสต์ ก็ได้ประกาศแยกตัวใน ค.ศ.1920 และไปตั้งเป็นพรรคการเมืองก็คือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย แต่การแยกตัวดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบมากเท่าไร จึงทำให้เดินหน้าก้าวสู่การเมืองและได้เปลี่ยนจากซาเรกัต อิสลาม เป็นพรรคซาเรกัต อิสลามอินโดนีเซีย ใน ค.ศ.1926 แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นพรรคการเมืองอย่างเต็มตัวก็ทำให้มีคนที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการเข้าถึงการเมืองของอิสลามจึงทำให้เกิดการทะเลาะภายในพรรคอย่างหนัก จากการไม่เข้าใจกันภายในพรรคจึงส่งผลให้ลดบทบาทของซาเรกัต อิสลาม ลงไปในที่สุด
ทิวาพร จันทร์แก้ว
ธันวาคม 2559
เอกสารสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม
ภูวดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซีย: อดีตและปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
เอลซา ไซนุดิน. ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.