จากการประชุมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ASEAN Ecotourism Forum 2016 ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งกระทรวงข้อมูลข่าวสาร วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของลาวเป็นเจ้าภาพภายใต้แนวคิด “อาเซียนไร้พรมแดน” นั้น รัฐมนตรีและตัวแทนประเทศสมาชิกได้ประกาศปฏิญญาปากเซ ว่าด้วยแผนแม่บทกลยุทธ์พัฒนากลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และประตูการท่องเที่ยวอาเซียน (Pakse Declaration on ASEAN Roadmap for Strategic Development of Ecotourism Clusters and Tourism Corridors) ปฏิญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญหลายประการ เช่น
กระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกำลังเป็นที่ตื่นตัวอย่างกว้างขวางในภูมิภาคอาเซียน และเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างภูมิภาค ที่ต้องการสัมผัสวิถีธรรมชาติ วิถีชีวิตที่บริสุทธิ์และสงบในภาพลักษณ์แบบเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว ซึ่งมีจุดเด่นที่ทิวทัศน์ภูเขาหินปูนคล้ายกุ้ยหลิน ประเทศจีน ล้อมรอบด้วยผืนนาข้าว และมีแม่น้ำซองไหลผ่าน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อน ปั่นจักรยาน ดำน้ำ โรยตัวข้ามแม่น้ำ และเยี่ยมชมหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ ตลาดสินค้าพื้นเมือง ต่อมาเริ่มมีนักท่องเที่ยววัยรุ่นชาวตะวันตกเข้ามามากขึ้น เกิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยวแบบปาร์ตี้ มีร้านสุราขึ้นตามแพริมน้ำจำนวนมาก เกิดการมั่วสุม การเสพ ยาเสพติดจำพวกฝิ่น อบายมุขทั้งกลางวันกลางคืน ขัดต่อภาพลักษณ์ความเป็นเมืองชนบทของวังเวียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มสุราจนเมามายและลงไปเล่นล่องห่วงยางแม่น้ำซอง (inner-tubing) ในสภาพที่ขาดสติ ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดรัฐบาลลาวจึงได้เข้าไปจัดระเบียบวังเวียง สั่งปิดสถานบันเทิงหลายแห่ง ตามมาด้วยการฟื้นฟูการท่องเที่ยววังเวียงให้กลับไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ดังเดิม
ในส่วนของประเทศพม่าที่เพิ่งเปิดประเทศในทางเศรษฐกิจได้ไม่นานนั้น ทางกระทรวงการโรงแรมและ การท่องเที่ยวของพม่า ก็ได้ประกาศนโยบายการตอบรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่นักท่องเที่ยวชาติตะวันตกกำลังชื่นชอบ จากสถิติพบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพม่าอันดับแรกๆ ประกอบด้วย สเปน สหรัฐอเมริกา ตุรกี จีน และเกาหลีใต้ โดยสนใจแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากเป็นพิเศษ ทั้งในนครย่างกุ้ง พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์ พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจ้ก์โถ่ รัฐมอญ ฯลฯ
และในประเทศไทยก็มีการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยยกตัวอย่าง แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่น่าสนใจ เช่น
อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีอัตลักษณ์ทางนิเวศวิทยาและวัฒนธรรมที่โดดเด่น สามารถตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภูมิภาคอาเซียนได้
ภัสสร ภัทรเภตรา
กันยายน 2559
เอกสารสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม
“PAKSE DECLARATION ON ASEAN ROADMAP FOR STRATEGIC DEVELOPMENT OF ECOTOURISM CLUSTERS AND TOURISM CORRIDORS” (asean.org/wp-content/uploads/2016/06 /PAKSE-DECLARATION.pdf)