ประชาคมอาเซียนในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นมาจากสมาคมประชาชาติและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 โดยมีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม ภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมุ่งส่งเสริมภูมิภาคแห่งสันติสุข มีเสถียรภาพ และเคารพต่อกระบวนการยุติธรรม และนิติธรรม ซึ่งต่อมาได้มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม คือ บรูไน (1984) เวียดนาม (1995) พม่า ลาว (1997) และกัมพูชา (1999) และหลังจากนั้นมา ASEAN ก็ได้พัฒนาการผ่านปฏิญญาต่างๆ เช่น การประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน2020 (ASEAN Vision 2020) ในปี 1997 การประกาศปฏิญญาบาหลี ปี 2003 และเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2015
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillar) คือ
ตัวอย่างการทำงานของประชาคมอาเซียนในเสาหลักด้าน APSC เช่น
สำหรับบทบาทของไทยในเสาหลัก APSC ปรากฏให้เห็นในหลายๆ ความร่วมมือ เช่น ในปฏิญญา สิทธิมนุษยชนอาเซียน สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูในภูมิภาคอาเซียน ASEAN Network of Regulatory Bodies on Atomic Energy (ASEANTOM) ความร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ASEAN-NARCO) ซึ่งตั้งศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงความร่วมมือในการป้องกันภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Security Threats)
2. เสาหลักด้านเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community หรือ AEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการ
เศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ภายใต้ระบบตลาดร่วม การลดอุปสรรคทางภาษีศุลกากร การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายทุน แรงงานฝีมือ ฐานการผลิต สินค้า บริการ ผู้ประกอบการระหว่างประเทศสมาชิก รวมไปถึงการลดช่องว่างทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่อย่างพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา เพื่อความเข้มแข็งในการแข่งขันของประชาคมอาเซียน และการบูรณาเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกต่อไป
ซึ่งหากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถรวมกันเป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกันได้ ก็จะกลายเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่มีขนาดผู้บริโภคใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และจะมีการเติบโตของ GDP ถึง 5.3 % ในปี 2016 และที่สำคัญประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ประสานความร่วมมือระหว่างภูมิภาค ในรูปแบบเขตการค้าเสรี (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) แบบทวิภาคีกับหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ ASEAN+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย) ซึ่งช่วยให้โอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนยิ่งกว้างไกลออกไป
นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนยังประกาศความริเริ่มเชียงใหม่สู่การเป็นพหุภาคี Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM. ซึ่งมีเป้าหมายในการเปิดเสรีทางการเงินด้วย
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)
- ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
- การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)
- สวัสดิการและการคุ้มครองทางสังคม (Social Welfare and Protection)
- กระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (Social Justice and Right)
- ลดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
ตัวอย่างการทำงานของประชาคมอาเซียนในเสาหลักด้าน ACSS เช่น
- ปฏิญญาว่าด้วยโรคไม่ติดต่อในประชาคมอาเซียน
- การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานอพยพ
- แผนปฏิบัติระดับภูมิภาคในการขจัดการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง
- ความร่วมมือระดับอุดมศึกษา (ASEAN University Network หรือ AUN)
- ความร่วมมือในการจัดการป้องกันภัยพิบัติ ปัญหาหมอกควัน
- การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนในประเทศสมาชิก ฯลฯ
ภัสสร ภัทรเภตรา
กันยายน 2559
เอกสารสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม
“Introduction to the ASEAN Community” (http://www.mfa.go.th/asean/th/asean-media-center/2393)