ขุนส่า มีชื่อจริงว่า ชาง จิฟู (Chang Chi fu) เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1934 ที่โรงพยาบาลลอยมาว (Loi Maw) ในหมู่บ้านหว่า เฟิง (Hpa Hpeung) เมืองมองไย (Mongyai) ของบริชทิชพม่า เขามีบิดาเป็นชาวจีน และมีมารดาเป็นชาวไทใหญ่ ชื่อนางแสงคำ จากนั้นเขาแต่งงานกับนางนาน คยายอน และมีลูกด้วยกันแปดคน
ช่วงวัยหนุ่ม ขุนส่า ได้รับการฝึกฝนจากกองกำลังก๊กมินตั๋งที่หลบหนีมาอยู่บริเวณชายแดนพม่า เนื่องจากพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีนในมณฑลยูนนานจนเหลือสมาชิกเพียงไม่กี่ร้อยคน ในปี 1963 เขารวบรวมสมาชิกและจัดตั้งเป็นกองกำลังพลเรือนติดอาวุธ ชื่อ กา แคว ยี (Ka Kwe Ye) ซึ่งสนับสนุนหนุนรัฐบาลของนายพลเนวิน โดยได้รับเงิน เครื่องแบบและอาวุธเป็นสิ่งตอบแทนสำหรับการต่อสู้กับกองทัพรัฐฉาน ต่อมาเขาขยายกองกำลังของตนเองจนมีจำนวนถึง 800 คน จึงหยุดให้ความร่วมมือกับรัฐบาลพม่าและเข้าควบคุมรัฐฉาน ว้าและขยายการผลิตฝิ่นให้เพิ่มมากขึ้น
ในปี 1967 เขาปะทะกับส่วนหนึ่งของกองกำลังก๊กมินตั๋งในรัฐฉาน ซึ่งเขาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้สมาชิกเสื่อมศรัทธาในตัวเขาจนกองกำลังเริ่มอ่อนแอลง กระทั่งเขาถูกจับกุมตัวในกรุงย่างกุ้งเมื่อปี 1969 และได้รับการปล่อยตัวในปี 1973 จากกองกำลังของขุนส่าที่เสนอเงื่อนไขให้ปล่อยตัวขุนส่า แลกกับแพทย์ชาวรัสเซีย 2 คน ซึ่งถูกจับไปเป็นตัวประกันที่บ้านหินแตก จากนั้นในปี 1976 เขากลับไปลักลอบค้าฝิ่นและการฐานที่มั่นที่บ้านหินแตกในภาคเหนือของไทย เขาเปลี่ยนชื่อกองกำลังของเขาเป็นกองทัพสหฉานและแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชของรัฐฉานจากรัฐบาลพม่า
เดือนตุลาคม 1981 ทหารหน่วยเรนเจอร์สของไทยจำนวน 39 คน และหน่วยรบแบบกองโจรของพม่าพยายามลอบสังหารขุนส่าที่เรียกร้องให้ใช้กฎหมายยาเสพย์ติดของสหรัฐอเมริกาแต่ก็ล้มเหลว ต่อมาในเดือนมกราคม 1982 หน่วยเรนเจอร์ของไทย ตำรวจตระเวนชายแดนและกองทัพบกร่วมกันบุกไปเข้าปักธงในบ้านหินแตกเพื่อแสดงอาณาเขตของกองทัพไทยและบังคับให้ขุนส่าย้ายฐานที่มั่นเข้าไปอยู่ในเขตชายแดนพม่า ในปี 1985 ขุนส่าเข้าร่วมกับกองทัพสหฉาน และกองทัพปฏิวัติเมิงไต ทำให้พวกเขาสามารถควบคุมพื้นที่ชายแดนไทยพม่าจากฐานที่มั่นในค่ายโฮมองใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปจนถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเขากลายเป็นบุคคลสำคัญของการลักลอบขนฝิ่นในเขตสามเหลี่ยมทองคำ นอกจากนี้ในช่วงปี 1974-1994 ที่ขุนส่า ปกครองอยู่ยังเพิ่มการแพร่ระบาดของเฮโรอีนจากถนนนิวยอร์กในเขตสามเหลี่ยมทองคำจาก 5% เป็น 80%
ในปี 1988 ขุนส่า ถูกสัมภาษณ์โดยนักข่าวออสเตรเลีย สตีเฟ่น ไรท์ เรื่องการลักลอบค้าของผิดกฎหมายผ่านทางข้ามชายแดนไทยพม่า เขาเสนอขายพืชเฮโรอีนของเขาทั้งหมดให้แก่รัฐบาลออสเตรเลียเป็นเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับแปดปี ต่อมาเพียงไม่นานเขาก็หยุดการค้ายาเสพติดในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา เพราะได้รับคำปฏิเสธจากรัฐบาลออสเตรเลีย จากนั้นในปี 1989 เขาถูกจับกุมและตั้งข้อหาโดยศาลนิวยอร์กเพราะพยายามลักลอบขนเฮโรอีนกว่า 1,000 ตัน เข้าสหรัฐอเมริกา จนเขาเสนอขายฝิ่นทั้งหมดของเขาให้แก่สหรัฐอเมริกาหรือให้เขาขายในตลาดยาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เขาถูกตั้งค่าเป็นเงินกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
พาทริเซีย เอลเลียต นักข่าวชาวแคนาดาพร้อมกับช่างภาพจากบางกอกโพสต์นายสุบิน เขียนแก้ว ได้สัมภาษณ์เขาภายในค่ายที่เนอร์ โมน ในฐานะผู้นำกองทัพปฏิวัติเมิงไต ซึ่งมีสมาชิกถึง 18,000 คน กองกำลังสำรองอีก 5,000 คน และอาสาสมัครในท้องถิ่นกว่า 8,000 คน สหประชาชาติได้รับเงินช่วยเหลือจากเขาสำหรับการกำจัดฝิ่นเป็นเงิน 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กำไรจากการค้าในสาขาที่อยู่ต่างประเทศอีก 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินช่วยเหลือในโครงการพืชทางเลือกอีกกว่า 89.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ
ขุนส่า ยอมจำนนต่อเจ้าหน้าที่รัฐของพม่าในเดือนมกราคม 1996 ในค่ายโฮมองของรัฐฉานพร้อมสมาชิกอีก 6,000 คน โดยมีรายงานว่าเพราะเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับข้อหาลักลอบขนยาเสพติดในสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่พม่าปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนและเขาสามารถใช้ชีวิตส่วนที่เหลือของเขาในกรุงย่างกุ้งกับการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญในกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลและตองยี จนกระทั่งวันที่ 26 ตุลาคม 2007 ขุนส่าได้เสียชีวิตลงในกรุงย่างกุ้งด้วย 73 ปี ด้วยโรคเบาหวานจนทำให้ร่างกายของเขาบางส่วนเป็นอัมพาตและมีภาวะความดันโลหิต ร่างของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานเยเวย์ที่อ๊อคกาลาปาเหนือ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ขุนส่าราชาแห่งสามเหลี่ยมทองที่รัฐบาลไม่อาจเอื้อมถึง แม้เขาจะเคยถึงจับกุมตัวในข้อหาค้ายาเสพติดแต่ก็ได้รับการปล่อยตัวในเวลาเพียงไม่นาน และกลับมาแผ่ขยายอิธิพลมากขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นกองทัพพันธมิตรกับกองทัพสหฉาน และกองทัพปฏิวัติเมิงไต ท้ายที่สุดเขายอมจำนนกับเจ้าหน้าที่รัฐของพม่าในปี 1996 พร้อมกับลูกน้องของเขา ซึ่งเขาไม่ได้ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด จนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของพม่าและเสียชีวิตลงด้วยโรคเบาหวานในปี 2007
ฐิติพงศ์ มาคง
มิถุนายน 2559