กลุ่มชาติพันธุ์โอรังเบอตาวี (เบอตาวี มาจากคำว่า บาตาเวีย เป็นชื่อทางการของจาการ์ตาในยุคอาณานิคมของดัตช์) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ของชาวมุสลิมทั้งหมด แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ขึ้นชื่อในเรื่องของความเคร่งครัดทางศาสนาและการพูดภาษาพื้นถิ่นของชาวมลายู เนื่องจากภาษาเบอตาวีเป็นภาษาลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากบาหลี ฮกเกี้ยน ภาษาอื่น ๆ
การเมืองช่วงอาณานิคมมีความพยายามที่จะแยกคนเหล่านี้ออกไป ในศตวรรษที่ 20 ขณะที่ชาวยุโรปและชาวจีนเริ่มมีอำนาจทางเศรษฐกิจร่วมกัน ถึงแม้ว่าระบบอาณานิคมจะเริ่มเปิดให้ชาวอินโดนีเซียเข้ามาดำรงตำแหน่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แต่ก็มักจะเป็นพวกชนชั้นสูงไม่ใช่คนเบอตาวี การยกเว้นตำแหน่งนี้ยังคงดำรงอยู่ตลอดมาจนถึงยุคหลังอาณานิคม
งานเขียนของบราวและวิลสัน ระบุถึงคำกล่าวของซูฮาร์โตเกี่ยวกับคนเบอตาวีว่า “บรรพบุรุษของพวกเขาผสมปนเปกัน สถานะผู้อพยพและต้นกำเนิดของพวกเขาเป็นผลพวงจากการปกครองของอาณานิคม ซึ่งมีความหมายว่า เบอตาวี ที่อาศัยอยู่ในตอนแรก ไม่ถือว่าเป็นเชื้อชาติที่แท้จริง” ยิ่งไปกว่านั้น คนกลุ่มนี้เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความสามารถของรัฐในการส่งมอบทางโอกาสทางเศรษฐกิจ การอุปถัมภ์ ทั้งยังสูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถของตนด้านการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาของชาติ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์นี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดสภาภารดรภาพเบอตาวีขึ้น
สภาภราดรภาพเบอตาวี (Betawi Brotherhood Forum หรือ FBR) ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวมาดูรีสจากเกาะมาดูรากับชาวเบอตาวี กลุ่มนี้แสดงตัวออกมาเนื่องจากเหตุความรุนแรงที่ชาวมาดูรีสก่อขึ้นในเมืองกำปง เขตเปอดาเองัน, จากุง, บารัต ทางตะวันออกของจาการ์ตา สภาภราดรภาพเบอตาวีประกอบด้วยคนจากหลากหลายพื้นที่ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี 50% ของสมาชิกคือคนที่ประสบกับปัญหาการว่างงาน บทบาทของสภาภราดรภาพเบอตาวี คือการเปิดให้บริการสถาบันการศึกษาสำหรับการต่อสู้เรื่องสิทธิของชาวเบอตาวี
สภาภราดรภาพเบอตาวีไม่ได้เป็นเพียงแค่องค์กรทั่วไป แต่ยังมีอิทธิพลและสมาชิกเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าในปี 2001 องค์กรดังกล่าวมีสมาชิกถึง 1.7 ล้านคน ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิดกับกับ นายซูตีโยโซ ผู้ว่าราชการจังหวัดของจาการ์ตา เนื่องจากเป็นฐานเสียงสำคัญที่ทำให้ซูตีโยโซได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ช่วงปี 2002-2007 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนา เช่น การนำสวดอัลกุรอาน และกิจกรรมเพื่อสังคม อย่าง การเก็บรวบรวมเงินบริจาคสำหรับสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามบทบาทหลักขององค์กรนี้ก็คือการมุ่งเป้าไปที่การดึงดูดการจ้างงานสำหรับสมาชิก ซึ่งมีทั้งผู้ว่างงานชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง
ในทางตรงกันข้ามสภาภราดรภาพเบอตาวีบ่อยครั้งมักจะเกี่ยวข้องกับการกระทำที่รุนแรง เช่น การบังคับข่มขู่และใช้ความรุนแรง ยกตัวอย่าง ในปี 2007 องค์กรดังกล่าวเริ่มมีความขัดแย้งกับองค์กร IKB ในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากผู้ขายของบนถนน ทำให้สมาชิกของทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตหลายราย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุดและได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก คือ การโจมตีผู้ประท้วงอย่างสันตินอกอินโดนีเซียในปี 2002
ช่องทางหลักของสภาภราดรภาพเบอตาวี คือ การสร้างที่พักผู้โดนสารขนาดเล็ก โดยมีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด มักจะตั้งอยู่ใกล้สี่แยก ตลาดหรือเส้นทางเดินรถ ปัจจุบันมีที่พักผู้โดยสารประมาณ 185 แห่งกระจายไปทั่ว ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองจากุง สร้างเลียนแบบสิ่งปลูกสร้างของกองทัพอินโดนีเซีย โดยในยุคปฏิรูปในปี 1990 มีการประสานงานโดยผู้บัญชาการระดับอำเภอ รายงานตรงไปยังคณะกรรมการกลางของสภาภราดรภาพเบอตาวี นำโดยผู้ประสานงานและสภาที่ปรึกษา ซึ่งได้รับอนุญาตจากผู้นำในการแสวงหาเงินทุนและดำเนินการกับธุรกิจยาเสพติด ผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสถานบันเทิงที่ผิดศีลธรรม
สภาภารดรภาพเบอตาวีจึงสถาปนาตัวเองเป็นกึ่งรัฐในแบบดั้งเดิมของเบอตาวี บริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางของกรุงจาการ์ตา ซิมโบลิม ไซเรนคุ้มกันรถจักรยานยนต์ กล่าวว่า "เราทำงานร่วมกับตำรวจ, ทหารและรัฐบาลตราบใดที่มันไม่ขัดแย้งกับหลักศาสนาอิสลาม เรามีความพร้อมที่จะร่วมมือกับตำรวจและทหารในการกำจัด อาชญากร"
จาการ์ตาเป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม จึงไม่น่าประหลาดใจนักหากจาการ์ตาในยุคปัจจุบันจะยังคงตกอยู่ในวังวนของการทะเลาะวิวาทระหว่างแก๊งนอกกฎหมาย และการดำเนินงานของแก๊งต่างๆ มักจะเกี่ยวพันกับนักการเมืองท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น กรณีของสภาภารดรภาพเบอตาวีแม้จะเป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมเพื่อศาสนาและสังคมมากมาย แต่ก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุความรุนแรงอย่างเลี่ยงมิได้
มนัสวี นาคสุวรรณ์
เมษายน 2559